Foreign Affairs
Ministry of Social Development and Human Security

งานด้านต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Courtesy Calls

การรับรองแขกต่างประเทศ หรือการเข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ หมายถึงการเข้าเยี่ยมเพื่อการเจรจาหารือและกระชับความสัมพันธ์ในระดับสากล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการขอเข้าพบหรือเยี่ยมคารวะ รัฐมนตรีและปลัดกระทรวง เป็นครั้งแรกหลังจากเข้ารับตำแหน่งของเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าองค์กรระหว่างประเทศ

การให้การต้อนรับการเข้าเยี่ยมคารวะของแขกต่างประเทศ จำเป็นต้องมีการเตรียมการที่คำนึงถึงพิธีการทางการทูต ระเบียบ หรือขนบธรรมเนียมการปฏิบัติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการริเริ่มหรือขยายความร่วมมือในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน ซึ่งภารกิจด้านการเยี่ยมคารวะมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากการพูดคุยหารือระหว่างผู้บริหารระดับสูงจะสามารถผลักดันให้เกิดความร่วมมือ และการขับเคลื่อนงานในระดับนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

International Cooperation

ประเด็นด้านสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนต่างๆในสังคม เป็นประเด็นที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในเวทีระหว่างประเทศ ทั้งในกรอบความร่วมมือทวิภาคี พหุภาคี ที่ประเทศคู่ภาคีหรือกลุ่มประเทศที่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเดียวกันร่วมกันกำหนดนโยบายและพัฒนาความร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ การแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาสตรี ฯลฯ นอกจากนั้น ยังมีการดำเนินการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และภายใต้กรอบความร่วมมือขององค์การระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคีในมิติด้านสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมายให้มีความมั่นคงในชีวิต สามารถเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคม บรรลุวิสัยทัศน์ “ประชาชนเข้าถึงโอกาสและการคุ้มครองทางสังคม มีความมั่นคงในชีวิต” และยกระดับสังคมไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศจำนวน 7 ฉบับ จากจำนวนทั้งสิ้น 9 ฉบับ ซึ่ง พม. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) และ พม. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5 (บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง) และร่วมสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG ทั้ง 17 เป้าหมายภายในปี 2030               

             

ASEAN Cooperation

•สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN เป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นโดยการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความมั่นคงทางการเมือง การเจริญเติบโตทางการค้าและทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาทางสังคมของประเทศสมาชิก 

•การรวมกลุ่มภายใต้ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASC)
2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)

• พม. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน เสนอแนวทาง และผลักดันการดำเนินงานในไทยให้สอดรับกับเป้าหมายของอาเซียน และความต้องการ รวมถึงความจำเป็นเร่งด่วนของไทย โดยแบ่งการทำงานออกเป็นความร่วมมือรายสาขา จำนวน 15 สาขา

กองการต่างประเทศ
กองการต่างประเทศ

เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานและดำเนินความร่วมมือและขับเคลื่อนงานด้านต่างประเทศตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และผลักดันนโยบายด้านสังคมให้เป็นสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และพันธกรณีที่ไทยเป็นภาคี โดยกองการต่างประเทศ ประกอบด้วย 2 กลุ่ม 1 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ กลุ่มความร่วมมืออาเซียน และฝ่ายบริหารทั่วไป

กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ
กลุ่มความร่วมมือ
ระหว่างประเทศ

เป็นหน่วยประสานงาน ขับเคลื่อน และติดตามการดำเนินงานในลักษณะความร่วมมือทวิภาคี พหุภาคี พันธกรณีระหว่างประเทศ และกรอบความร่วมมือสหประชาชติ และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ

กลุ่มความร่วมมืออาเซียน
กลุ่มความร่วมมืออาเซียน

เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน เสนอแนวทาง และผลักดันการดำเนินงานในไทยให้สอดรับกับเป้าหมายของอาเซียน

ศูนย์ฝึกอบรมอาเซียน
ศูนย์ฝึกอบรมอาเซียน
ด้านสังคมสงเคราะห์
และสวัสดิการสังคม

เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาหลักสูตร และจัดการฝึกอบรมด้านวิชาการและทักษะทางวิชาชีพแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการอบรมในประเทศสมาชิกอาเซียน

previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow

Latest News

ลิงก์หน่วยงาน

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ศูนย์ฝึกอบรมอาเซียนด้านสังคมสงเคราะห์และ สวัสดิการสังคม (ATCSW)
Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial