
Week1 วันที่ 8 ม.ค. 64
ประเด็นการป้องกันปัญหาและแก้ไขความยากจน
กัมพูชา
- “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาชนบทของกัมพูชาได้กล่าวในที่ประชุม “No Poverty Goal” ว่า กัมพูชาถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการบรรเทาปัญหาความยากจน ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ความสำเร็จนี้เกิดจากความพยายามของรัฐบาลและประเทศพันธมิตรโดยเฉพาะประเทศจีน ในการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตชนบท”
https://www.khmertimeskh.com/50793629/cambodia-has-reduced-poverty-in-25-years/
https://www.phnompenhpost.com/national/cambodia-relays-experience-poverty-reduction-forum
- กัมพูชาสามารถก้าวไปสู่การยุติความยากจนขั้นรุนแรงได้หากงบประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของราชอาณาจักรถูกใช้ไปเพื่อการคุ้มครองทางสังคม ตามรายงานของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ที่เผยแพร่ กัมพูชามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา รายงานยังระบุเพิ่มเติมว่าด้วยเหตุนี้อัตราความยากจนจึงลดลงอย่างมากจากครึ่งหนึ่งของประชากรในปี 2550 เหลือต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2559
http://www.xinhuanet.com/english/2020-08/31/c_139332075.htm
ติมอร์-เลสเต
- สถิติความยากจนของติมอร์-เลสเตที่มีล่าสุดในปี 2557 พบว่าความยากจนในพื้นที่ชนบทมีอัตราสูงร้อยละ 47.1 ส่วนในเมืองมีอัตราร้อยละ 28.3 แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่าความยากจนในพื้นที่ชนบทมีอัตราสูงถึงร้อยละ 50 โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 7,500 บาท ซึ่งแผนการฟื้นฟูความยากจนของรัฐบาลในปี 2564 จะเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นอันดับแรก
ที่มา: “Economic Recovery Plan” August 2020, 8th Constitutional Government
http://timor-leste.gov.tl/wp-content/uploads/2020/10/EN-PRE_screen.pdf
- 5 ความจริงที่ส่งผลกระทบต่อความยากจนในติมอร์-เลสเต: การพัฒนาทุนมนุษย์ การดูแลสุขภาพของเด็กและสตรี ความก้าวหน้าด้านการศึกษา การเข้าถึงอาหาร และการมีโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
ที่มา: 5 Facts about Poverty in Timor-Leste โดย Sarah Betuel
https://borgenproject.org/facts-poverty-in-timor-leste/
บรูไนดารุสซาลาม
- ความสำเร็จของพิมพ์เขียวเศรษฐกิจจะช่วยให้บรูไนดารุสซาลามเปลี่ยนจากเศรษฐกิจน้ำมันและก๊าซที่พึ่งพาอาศัยกันมากไปสู่เศรษฐกิจที่มีพลวัตและยั่งยืน ซึ่งมอบโอกาสในการจ้างงานที่มีความหมายและมีมูลค่าสูงสำหรับประชาชนและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดที่สอดคล้องกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (4IR)
https://borneobulletin.com.bn/2021/01/brunei-economic-blueprint-towards-a-dynamic-and-sustainable-economy-2/
- ปี 2020 เป็นปีที่ท้าทายสำหรับบรูไน เนื่องด้วยการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่บรูไนยังมีความสุขกับการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เพื่อบรรลุปณิธานของบรูไนในฐานะประเทศอัจฉริยะ และยังมีแนวโน้มการเติบโตทางด้านการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอีกทั้งสภายังวางแผนกำลังคนและการจ้างงาน จากภาครัฐและเอกชนในการขยายโอกาสการทำงานให้กับคนในท้องถิ่นมากขึ้น
https://borneobulletin.com.bn/2021/01/concerted-efforts-helped-us-through-challenging-year-2/
ฟิลิปปินส์
- ที่ผ่านมาเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ส่งผลให้อัตราความยากจนของประเทศลดลง โดยในปี 2015 มีอัตราร้อยละ 23.3 และในปี 2018 มีอัตราร้อยละ 16.6 ขณะเดียวกันสถิติความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ลดลงจากร้อยละ 44.9 เป็นร้อยละ 42.7 ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของฟิลิปินส์หยุดชะงัก และส่งผลให้อัตราความยากจนเพิ่มขึ้นด้วย
https://www.worldbank.org/en/country/philippines/overview#1 Oct 16, 2020
- สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้มีคนจนในฟิลิปปินส์มากกว่า 2.7 ล้านคนในปี 2563 โดยมีรายได้เฉลี่ยวันละ 96 บาท โดยสาเหตุหลักมาจากการถูกเลิกจ้าง การสูญเสียรายได้ และความสามารถจำกัดในการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
ที่มา: World Bank: Pandemic to sink 2.7M more Filipinos in poverty, by Ben O. de Vera, Philippine Daily Inquirer 8 December 2020
https://business.inquirer.net/313528/world-bank-pandemic-to-sink-2-7m-more-filipinos-in-poverty
มาเลเซีย
- งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2564 มีการเพิ่มการจัดสรรสำหรับความช่วยเหลือด้านสวัสดิการ ความพยายามในการขจัดความยากจน โดยถือเป็นงบประมาณแรก สำหรับเส้นความยากจนใหม่ ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังจัดทำดัชนีหลายมิติเกี่ยวกับความยากจน ซึ่งรวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลสุขภาพ สิ่งจำเป็นพื้นฐานและสาธารณูปโภค โดยรายงานดังกล่าว ยังมีประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการเติบโตที่แคระแกรนของเด็ก ที่ได้รับผลกระทบจากความยากจนซึ่งมีรายงานก่อนหน้านี้อีกด้วย
https://www.malaymail.com/news/malaysia/2020/08/14/khairy-budget-2021-to-have-increased-allocation-for-welfare-assistance-pove/1894039
- เศรษฐกิจมาเลเซีย ส่งสัญญาณการฟื้นตัว โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.7 ในปีพ.ศ. 2564 ตามด้วยการหดตัวลงร้อยละ 5.8 ในปีพ.ศ. 2563 จากการระบาดของโควิด -19 ตามรายงานฉบับล่าสุดของการเฝ้าสังเกตการณ์ด้านเศรษฐกิจของธนาคารโลกมาเลเซีย: การหว่านเมล็ดพันธ์ (World Bank Malaysia Economic Monitor: Sowing the Seeds) การประสบความสำเร็จในการควบคุมคลื่นลูกที่สาม และการกระจายวัคซีนโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ อาจนำไปสู่การฟื้นตัวของความต้องการของผู้บริโภคได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มากขึ้นและส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งมากขึ้นในปีพ.ศ.2564
https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2020/12/17/malaysian-economy-showing-signs-of-recovery-projected-to-grow-by-67-percent-in-2021-following-a-contraction-of-58-percent-in-2020
เมียนมา
- ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้อัตราการบริโภคและลงทุนในเมียนมาลดลงเป็นอย่างมาก โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมาเติบโตขึ้นร้อยละ 1.7 ในปี 2562-2563 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 6.8 ในปี 2561-2562 นอกจากนี้ สัดส่วนความยากจนของเมียนมาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 27 ในปี 2562-2563 จากเดิม ร้อยละ 22.4ในปี 2561-2562
Myanmar’s Economy Hit Hard by Second Wave of COVID-19: Report
- รายงานติดตามเศรษฐกิจของธนาคารโลก คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเมียนมาจะเริ่มฟื้นตัวในเดือนมีนาคม 2564 หากอัตราการติดเชื้อภายในประเทศลดลงและมีการผ่อนคลายมาตรการบางประเภท ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19ระลอกแรกในเมียนมา ส่งผลให้หลายครัวเรือนประสบปัญหาอย่างมาก อาทิ ปัญหาการชำระหนี้สิน ซึ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้นจากการระบาดระลอกที่สอง และอาจเป็นสาเหตุให้หลายครัวเรือนเข้าสู่ภาวะความยากจนในอนาคตได้
Myanmar’s Economy to Start Recovering Early Next Year: World Bank
ลาว
- ในภาพรวมการระบาดใหญ่ของโควิด -19 ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวในปี 63 ลดลง เกิดการขาดดุลการคลัง หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำหรับรัฐบาลในการดำเนินการตามภาระผูกพันการชำระหนี้ราว 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท) ต่อปีสำหรับปี 63-66
Lao PDR Overview (worldbank.org) - ภายใต้ระบบการคุ้มครองทางสังคมระดับชาติเพื่อรับมือกับวิกฤต โควิด-19 ในสปป. ลาว มีการช่วยเหลือผู้ที่ตกงานผ่านนโยบายประกันการว่างงาน โดยไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มแรงงานนอกระบบ และอยู่ระหว่างการริเริ่มโครงการโอนเงินให้ครอบคลุมแม่และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปีในเขตยากจน เพื่อประกันโภชนาการที่จำเป็นในช่วง 1,000 วันแรกของเด็ก
Developing a shock-responsive national social protection system to respond to the COVID-19 crisis in Lao PDR (July 2020) – Lao People’s Democratic Republic (the) | ReliefWeb
เวียดนาม
- สถานการณ์โควิด-19ส่งผลให้เวียดนามมีคนว่างงานสูงสุดในรอบ10ปีทำให้ธุรกิจทุกขนาดและทุกภาคส่วนได้ปิดทำการในช่วงที่ห่างไกลทางสังคมที่รัฐบาลกำหนดไว้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสแต่เวียดนามสามารถรอดพ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นในปี2020ได้เนื่องจากการจัดการกับวิกฤตโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ
https://e.vnexpress.net/news/news/32-1-million-vietnamese-workers-hurt-by-covid-19-in-2020-4217091.html
- นายกรัฐมนตรี เหงียน ซุน ฟุก เห็นชอบกับนโยบายการประกาศใช้เส้นแบ่งความยากจนหลายมิติแห่งชาติในช่วงปี2021เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนหลายมิติ รวมถึงไม่อนุญาตให้มีอัตราเงินเฟ้อสูงต้องรักษาและปลูกฝังความสมดุลของ ประเทศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่มั่นคงและยั่งยืนต้องรักษารากฐานมหภาคที่มั่นคงและยั่งยืน
https://vietnamnews.vn/politics-laws/838690/pm-agrees-on-new-national-multidimensional-poverty-line-for-2021-25.html
สิงคโปร์
- ประเทศสิงคโปร์มีจำนวนประชากรกว่า 5.7 ล้านคน และจัดเป็นประเทศรายได้ระดับสูง โดยเฉลี่ยมีรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNI per capita) สูงถึง 59,590 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.8 ล้านบาท) เมื่อปี 2562 จากการประเมินของธนาคารโลก นอกจากนี้ ยังเป็นประเทศอันดับหนึ่งของโลกในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ (human capital development) ด้วยอัตราการเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มากกว่า 100% ของเด็กและเยาวชนในวัยเรียนทั้งหมด
https://databank.worldbank.org/reports.aspx?source=2&country=SGP - 948,000 ครัวเรือนผู้อยู่อาศัยในแฟลตการเคหะรัฐบาล (HDB) จะได้รับแจกคูปองเงินคืนภาษี (GST Vaucher) มูลค่าสองเท่าจากที่เคยได้รับ ภายในเดือนมกราคม 2564 นี้ เพื่อช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ภายในครัวเรือน โดยมาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดสรรไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 หรือที่เรียกว่า Unity Budget และมีวงเงินรวมกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.8 แสนล้านบาท)
https://www.mof.gov.sg/news-publications/press-releases/940-000-hdb-households-to-receive-gst-voucher-u-save-in-january-2021
อินโดนีเซีย
- “แม้ว่าอินโดนีเซียจะสามารถลดอัตราความยากจนลงเหลือร้อยละ 9.78 ในปี 2020 แต่ประชากรราว 26.42 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 270.2 ล้านคนในอินโดนีเซียยังคงอยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน (poverty line) และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจผลักให้ประชากรกว่า 5.5 – 8 ล้านคนเข้าสู่ความยากจน หากไม่มีการขยายความช่วยเหลือทางสังคม”
https://www.worldbank.org/en/country/indonesia/overview#1
- “ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย โจโก“ โจโกวี” วิโดโด มีคำสั่งให้กระทรวงการวางแผนพัฒนาแห่งชาติจัดการปฏิรูประบบการคุ้มครองทางสังคมครั้งใหญ่ เพื่อขจัดปัญหาความยากจนอย่างรุนแรง (extreme poverty) โดยตั้งเป้าหมายว่าจะลดอัตราความยากจนอย่างรุนแรงจากร้อยละ 2.5 – 3 เหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2024”
https://setkab.go.id/en/president-jokowi-orders-reforms-on-social-protection-system/
ทั่วโลก
- งานวิจัยของ UNU-WIDER บ่งชี้ว่าประชากรโลกที่อยู่ใต้ ‘ความยากจนแร้นแค้น’ จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 พันล้านคน ในช่วงที่โลกเผชิญกับโควิด และปัญหาความยากจนที่ทั่วโลกจะเลวร้ายขึ้น ซึ่งจะไม่เพียงแต่ส่งผลร้ายกับประเทศที่เผชิญปัญหาความยากจนมาก่อนมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้วเท่านั้น แต่จะรวมไปถึงประเทศที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีปัญหาความยากจน
https://www.channelnewsasia.com/news/world/coronavirus-covid-19-poverty-study-extreme-poor-12828494
เอเชีย
- ในปี 2563 การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียหดตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน และยังคงเป็นความเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโตของภูมิภาคในปีนี้และปีหน้า ซึ่งรัฐบาลในภูมิภาคได้ดำเนินนโยบายเพื่อลดความเสี่ยง โดยการกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนรายได้ของผู้ได้รับผลกระทบเป็นหลัก โดยมีจำนวนเงินสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 15 ของ GDP ในภูมิภาค
https://www.adb.org/news/developing-asias-economic-growth-contract-2020
- ‘คนจน’ ในเอเชียกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งในรอบ 20 ปี หลัง การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้ทำลายเศรษฐกิจในหลายประเทศของภูมิภาคเอเชีย แม้ว่ารัฐบาลจะประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาด และมีการให้เงินช่วยเหลือทั้งภาคครัวเรือนและบริษัทเอกชน แต่การฟื้นตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงเป็นไปได้อย่างยากลำบาก
https://www.straitstimes.com/world/united-states/covid-19-pandemic-will-push-millions-across-east-asia-and-the-pacific-into
ยุโรป
- ยุโรปต้องเผชิญหน้าต่อสู้กับไวรัส COVID-19 อีกระลอก จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อในยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งมีผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาวต่อยุโรป โดยรัฐบาลยุโรปกำลังเร่งออกมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจที่จะรองรับความเดือดร้อนของธุรกิจรายเล็กและรายย่อยที่ต้องปิดลง และจำนวนคนตกงานที่เพิ่มมากขึ้น
https://www.ecdc.europa.eu/en/cases-2019-ncov-eueea
อเมริกาใต้
- การระบาดของ Covid-19 ในทวีปอเมริกาใต้กำลังรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เศรษฐกิจของหลายประเทศในทวีปกำลังเผชิญกับผลกระทบ โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจละตินอเมริกาและแคริบเบียน (ECLAC) เตือนว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะนำไปสู่การหดตัวทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์
https://news.cgtn.com/news/2020-05-11/Secondary-disaster-of-the-pandemic-emerges-in-Latin-America-QnLSpTQQw0/index.html
อเมริกา
- ผลกระทบของ COVID-19 ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทำให้ชาวอเมริกันไม่น้อยกว่า 15 ล้านคนตกงานทันที ขณะที่ภาคธุรกิจ SME ในสหรัฐกำลังประสบปัญหาจากเรื่องสภาพคล่อง รวมไปถึงความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังสร้างผลกระทบต่อประชาชนที่มีรายได้น้อย โดยผลกระทบของ COVID-19 เศรษฐกิจของสหรัฐอยู่ในช่วงขาลง เช่น ความต้องการสินค้าที่ลดลง ส่งผลต่อเนื่องต่อภาคธุรกิจที่อาจถึงขึ้นล้มละลายจากหนี้สิน ฯลฯ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอาจต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว
https://www.forbes.com/sites/mikepatton/2020/10/12/the-impact-of-covid-19-on-us-economy-and-financial-markets/
แอฟริกาใต้
- UNDP แอฟริกาใต้ได้แถลงผลการศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมจาก COVID-19 ในแอฟริกาใต้ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจแอฟริกาใต้จะหดตัวร้อยละ 5.1 ถึง 7.9 ในปี 2563 และคาดว่าจะใช้เวลา 5 ปีเพื่อให้เศรษฐกิจแอฟริกาใต้จะสามารถฟื้นตัวกลับมาอยู่ในสภาพก่อนการระบาดของ COVID-19
https://www.undp.org/content/undp/en/home/news-centre/news/2020/South_Africa_GDP_will_take_at_least_five_years_to_recover_from_COVID19_impact_says_UNDP_study.ht