Archive-Week 10 (12 มีนาคม 64) มาตรการการรับมือและการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 รวมถึงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ

Week 10 วันที่ 12 มี.ค. 64

มาตรการการรับมือและการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 รวมถึงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ

บรูไนดารุสซาลาม

  • คณะกรรมาธิการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของบรูไน (National Council for Climate Change of Brunei Darussalam) เดินหน้าตามแผนงาน Green Project เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษภายในประเทศ โดยตั้งเป้าหมายการปลูกต้นไม้ให้ได้ถึง 26,000 ต้นภายในสิ้นปี 2564 ในพื้นที่ใจกลางเมืองและนอกเมือง และกำหนดให้สถานที่ราชการเป็นเขตปลอดขวดพลาสติกทั้งหมด ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปลูกต้นไม้ให้ครบ 500,000 ต้น ภายในปี พ.ศ. 2578
    https://www.brudirect.com/news.php?id=113571

  • วิสาหกิจเพื่อสังคมโดยเยาวชนบรูไน ชื่อ Green Brunei ร่วมกับบริษัท Hengyi Industries เชิญชวนพนักงานบริษัทและอาสาสมัครกว่า 100 คน ร่วมกันทำกิจกรรมทำความสะอาดชายหาด ติดตั้งถังขยะ และรณรงค์การรีไซเคิลขยะ ทั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษชายหาดและลดจำนวนขยะพลาสติกที่ถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทร
    https://borneobulletin.com.bn/hengyi-launches-clean-beach-initiative/

อินโดนีเซีย  

  • ภูเขาไฟ Sinabung ซึ่งตั้งอยู่ในเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย ปะทุและพ่นเถ้าถ่านปริมาณมหาศาลขึ้นไปบนท้องฟ้าสูงกว่า 5,000 เมตร เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา แม้เจ้าหน้าที่จะกล่าวว่าการปะทุและเถ้าถ่านดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และไม่มีคำสั่งให้อพยพออกจากพื้นที่ แต่ประชาชนจำนวนมากต่างเก็บตัวอยู่ในบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงเถ้าถ่านจากภูเขาไฟ
    https://phys.org/news/2021-03-indonesia-volcano-belches-huge-ash.html

     

  • อินโดนีเซียหันมาใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ต้นน้ำ (upstream) ในการจัดการขยะพลาสติกในมหาสมุทร ด้วยการนำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำและลดปริมาณการใช้พลาสติก ซึ่งไม่เพียงจะช่วยขจัดปัญหามลพิษ แต่ยังสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจมูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท) ให้แก่ประเทศในอนาคต ทั้งนี้ อินโดนีเซียมีเป้าหมายในการขจัดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากพลาสติกให้สำเร็จภายในปี 2040 
    https://www.weforum.org/agenda/2021/03/indonesia-plastics-ocean-circular-economy/

ลาว

  • สปป. ลาว ร่วมกับกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ (FCPF) ของธนาคารโลก ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อสนับสนุนเงินทุนจำนวน 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.29 พันล้านบาท) ในระหว่างปี 2564 – 2568 เพื่อดำเนินการโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ ใน 6 จังหวัด (หัวพัน หลวงพระบาง อุดมไซ หลวงน้ำทา บ่อแก้ว ไชยบุรี) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของสปป.ลาว
    Lao PDR Signs Agreement to Protect Forests and Reduce Carbon Emissions – Modern Diplomacy

     

  • สำนักงานบริหารและบริการนครหลวงเวียงจันทน์ (VCOMS) รายงานว่าปัจจุบันมีครัวเรือนเพียง 27% ที่สามารถเข้าถึงบริการด้านการจัดการขยะในเมืองหลวงได้ ส่วนครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้บางรายทำการเผาขยะอย่างผิดกฎหมาย หรือทิ้งขยะในพื้นที่ป่าหรือทุ่งนา นอกจากนี้ ได้คาดการณ์ว่าปริมาณขยะในนครหลวงเวียงจันทน์จะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านตันภายในปี 2573
    Waste Management A Growing Problem For Vientiane Capital – Laotian Times

มาเลเซีย

  • ประชาชนชาวมาเลเซีย ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้คำสั่งการควบคุมการเคลื่อนไหว รอบที่ 2  เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปรากฎข้อดีของมาตรการควบคุมนี้ คือ จำนวนยานพาหนะบนท้องถนนที่ลดลง กิจกรรมทางการค้าและการผลิตที่ลดลง นำไปสู่การรายงานว่า ประชาชนรู้สึกได้ว่ามลพิษทางอากาศลดน้อยลงไปด้วย แม้นักวิทยศาสตร์บางคนออกมานำเสนอข้อมูลแย้งว่าการควบคุมการเคลื่อนไหวนี้ ไม่ได้ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยยะสำคัญ
    https://www.soyacincau.com/2021/01/17/covid-19-lockdown-reduce-pollution-as-much-as-expected/
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ ประเทศมาเลเซีย ออกแถลงการณ์ว่า การเผาไหม้ในที่เปิดโล่ง (อาทิ ไฟป่า เผาหญ้า) ท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพอากาศย่ำแย่ และส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน โดยจากการตรวจสอบพบว่า มี 7 พื้นที่ ที่มีดัชนีชี้วัดระดับมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่ Johan Setia Klang, Banting, Petaling Jaya, Klang, Shah Alam, Cheras, Kuala Lumpur and Rompin, Pahang.
    https://www.malaymail.com/news/malaysia/2021/03/03/environment-minister-open-fires-cause-of-unhealthy-air-quality/1954357

เมียนมา

  • ปัญหาหมอกที่ปกคลุมแม่น้ำย่างกุ้งในช่วงเช้าของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ส่งผลให้เรือเฟอร์รี่ที่ให้บริการในบริเวณแม่น้ำดังกล่าว รวมถึงผู้โดยสารที่ใช้บริการประสบปัญหาในการเดินทางเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ปัญหาหมอกเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวของเมียนมา เนื่องจากทำให้ทัศนวิสัยการเดินทางน้อยลงและอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้ ดังนั้น ผู้ให้บริการเรือเฟอร์รี่จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว
    Following safety rules key to preventing accidents in heavy fog season

     

  • จากรายงานการจัดอันดับดัชนีความเสี่ยงจากสภาพอากาศโลก ประจำปี 2021 (GLOBAL CLIMATE RISK INDEX 2021) เมียนมา ถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 2 ของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะรุนแรงของลมฟ้าอากาศ (Extreme Weather Event) มากที่สุดในห้วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยอันดับที่ 1 คือเปอร์โตริโก และอันดับที่ 3 คือ เฮติ
    GLOBAL CLIMATE RISK INDEX 2021

ฟิลิปปินส์

  • บริษัทพลังงานหมุนเวียน Metro Global มีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะ โดยการนำขยะจากชุมชนในเขตเทศบาลเมือง Sablan ประเทศฟิลิปปินส์ มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อร่วมช่วยแก้ปัญหาการจัดการขยะในชุมชน และคาดว่าจะสามารถนำขยะประมาณ 500 ตัน มาเปลี่ยนพลังงานได้ 1000 เมกะวัตต์
    Waste-to-energy plant to rise in Sablan – The Manila Times
  • กรมทรัพยากรธรรมชาติเขต Cotabato ตอนเหนือ ร่วมกับคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติภูเขาอาโป ร่วมกันจัดกิจกรรมเชิญชวน นักสิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่การท่องเที่ยว รวมทั้งอาสาสมัครจากกลุ่มนักปีนเขา รวมกว่า 130 คน ร่วมกันเดินขึ้นเขาเพื่อเก็บขยะ และทำความสะอาดพื้นที่บนภูเขาไฟอาโป ในช่วงสุดสัปดาห์ โดยมีรายงานว่าขยะที่เก็บได้มีนำ้หนักกว่า 200 กิโลกรัมและส่วนใหญ่เป็นเศษขวดและถุงพลาสติก
    Volunteers’ cleanup trek nets 200 kilos of trash from Mt. Apo | Philippine News Agency (pna.gov.ph)

สิงคโปร์

  • เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มาตรวัดคุณภาพอากาศ PSI ในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศสิงคโปร์ แตะระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ NEA ออกมาให้ข้อมูลว่า มลภาวะทางอากาศที่ตรวจสอบได้ดังกล่าว เกิดจากมลพิษที่เรียกว่า โอโซน ไม่ใช่มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนแต่อย่างใด
    https://www.straitstimes.com/singapore/high-ozone-levels-not-haze-the-cause-of-psi-hitting-unhealthy-range

     

  • หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัล President’s Award สาขาสิ่งแวดล้อม จะได้รับการปรับใหม่ให้สอดคล้องกับ “แผนงานสีเขียว 2573 หรือ Green Plan 2030” ของสิงคโปร์ ทั้งนี้ แผนงาน Green Plan ดังกล่าวได้ประกาศบังคับใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีเจตนาให้ประชาชนใช้ชีวิตประจำวันโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาทิ เพิ่มเส้นทางจักรยานให้มากขึ้นเป็น 3 เท่า สิ่งปลูกสร้างต่างๆ จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นอีก 50% ภายในปี 2573 เป็นต้น
    https://www.straitstimes.com/singapore/nominations-for-presidents-award-for-the-environment-open-from-now-to-april-new-criteria

เวียดนาม

  • เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ Hồng และจังหวัด Thanh Hoá พบว่ามีปริมาณฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 จำนวนมาก และสภาพอากาศอาจกดให้ฝุ่นละอองลอยลงมาถึงระดับพื้นดิน ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกประกาศเตือนประชาชนให้ติดตามเครื่องมือวัดคุณภาพอากาศ และงดกิจกรรมภายนอกอาคารในช่วงเช้าและเย็น ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด
    https://vietnamnews.vn/environment/891363/poor-air-quality-forecast-between-march-1-6-in-the-north.html

     

  • กระทรวงคมนาคม เวียดนาม ได้ใช้มาตรการต่อเนื่องหลายอย่าง เพื่อที่จะควบคุมการปล่อยควันเสียจากยานยนต์ ได้แก่ การจัดการการผลิตและการประกอบหรือการนำเข้ายานพาหนะ การควบคุมการปล่อยไอเสียจากยานพาหนะบนท้องถนนอย่างเข้มงวด ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพอากาศได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
    https://en.vietnamplus.vn/vietnam-strictly-controls-vehicle-emissions-to-improve-air-quality/197192.vnp

 

 

Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial